ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซค์

 

เอกภพโมดัสโพเนนส์  (Universal   Modus    Ponens)

กฎความจริงของเอกภพสัมพัทธ์     สามารถนำมาใช้กับ  modus     ponens    แล้วได้ออกมา

เป็นกฎที่เรียกว่า  Uiversal   modus    ponens

Universal     Modus    Ponens

การอ้างเหตุผลในรูปแบบต่อไปนี้     สรุปว่าสมเหตุสมผล  (valid)

รูปแบบเป็นทางการ 

               x, if  P    (X    ) then Q    (x    )

              P    (c    ) for a particular c

 

รูปแบบไม่เป็นทางการ
                 ถ้า x  ทำให้ p    (x    ) เป็นจริง แล้ว x  ทำให้ Q    (x    )   เป็นจริง 

                มี    c  ที่ทำให้  P    (x    )  เป็นจริง 

ดังนั้น         c  ทำให้ Q    (x    )  เป็นจริง 

รูปแบบการอ้างเหตุผล   ที่มีข้อตั้งสองอันและมีข้อตั้งอย่าย้อยหนึ่งอัน    มีตัวบ่งชี้ปริมาณ   

เราเรียกรูปแบบนี้ว่า    ตรรกบท     ข้อตั้งตัวที่หนึ่ง    เรียกว่า   ข้อตั้งหลัก 

ข้อตั้งตัวที่สอง   เรียกว่า   ข้อตั้งรอง 

ตัวอย่าง     จงเขียนการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ใหม่โดยใช้สัญลักษณ์    ตัวบ่งชี้ปริมาณ    ตัวแปร  

ภาคแสดง    การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผลหรือไม่อธิบาย 

     ถ้าจำนวนนั้นเป็นเลขคู่   แล้วค่ากำลังสองเป็นเลขคู่ 

                K   เป็นเลขคู่                                                                                                                                

 ดังนั้น   K2 เป็นเลขคู่

  

 

 

 

 

 วิธีทำ ข้อตั้งหลักเขียนใหม่ได้เป็น 

           x, ถ้า x เป็นเลขคู่แล้ว x2  เป็นเลขคู่ 

ให้              E    (X    )  แทน  X          เป็นเลขคู่  

              ( S    (X    ) แทน   X2) เป็นเลขคู่ 

                K เป็นเลขคู่ใดๆ  

 

ดังนั้น   สามารถเขียนการอ้างเหตุผลได้ในรูป  

 X, if E(X)then S(x)E (k) for a particular k

ดังนั้น  ( S (k)

การอ้างเหตุผล สรุปว่า สมเหตุสมผล เพราะเป็นตามหลัก Universal  Modus Ponens

 

การใช้   Universal    Modus   Ponens ในการพิสูจน์

จงพิสูจน์ว่า     ผลบวกของเลขจำนวนเต็มคู่     จะได้เป็นจำนวนเต้มคู่

สมมุติให้  m  และ  n  เป็นค่าเฉพาะค่าใดค่าหนึ่งแทนจำนวนเต็มคู่แล้ว  M =2r

และ   n  =2s  เมื่อ  r  และ  s  เป็นจำนวนเต็ม

ดังนั้น  m+n =2r +2s

=  (r+s)

 

จาก  r+s  เป็นจำนวนเต็ม

2 (r+s ) เป็นเลขจำนวนเต็มคู่

ดังนั้น  m+ n  เป็นเลขจำนวนเต็มคู่

 ในแต่ละขั้นตอนในการพิสูจน์ในการอ้างเหตุผล   ที่สมเหตุสมผลโดยใช้

Universal modus ponens   ซึ่งนำมาเขียนตามเป็นรูปแบบได้ดังนี้

     1.ถ้าจำนวนเต็มนั้นเป็นเลขคู่   แล้วจะเป็น 2  เท่า ของจำนวนเต็มใดๆ  ( r )

M เป็นตัวแทนค่าเฉพาะของจำนวนเต็มคู่ M  =  2r

      2. ถ้าจำนวนเต็มนั้นเป็นเลขคู่   แล้ว จะเป็น 2 เท่าของจำนวนเต็มใดๆ ( s )

N เป็นตัวแทนค่าเฉพาะของจำนวนเต็มคู่ N = 2s

     

  3.ถ้าปริมาณใดเป็นจำนวนเต็ม แล้วปริมาณนั้นเป็นจำนวนจริง

 R และ  s  เป็นค่าเฉพาะของจำนวนเต็ม

 R  และ  s   เป็นจำนวนจริง

สำหรับทุกๆค่าของ  a,b  และ  c  ถ้า  a,b  และ  c   เป็นจำนวนจริงแล้ว

 Ab +  ac  = a (b+ c)

ให้  a = 2 , b = r  และ  c = s

2r + 2s  = 2 ( r + s )

        4.สำหรับทุกๆค่าของ  n  และ  m   เป็นจำนวนเต็มแล้ว  n + m  จะเป็นจำนวนเต็ม

M  =  r  และ  n =  s  เป็นจำนวนเต็มเฉพาะค่าที่ใช้แทนจำนวนเต็ม

R  +  s   เท่ากับจำนวนเต็ม                                                                                                                       5.ถ้าจำนวนใดๆเป็น  2  เท่า   ของเลขจำนวนเต็ม   แล้ว  จำนวนนั้นจะเป็นเลขคู่

2  (r + s )เป็นสองเท่าของจำนวนเต็ม  ( r +  s )                                                                                   2 (r+s )    เป็นเลขคู่

แน่นอนการพิสูจน์ว่า    ผลบวกของเลขจำนวนเต็มคู่จะได้เป็นจำนวนเต็มคู่    โดยอาศัยการอ้างเหตุผล

ลำดับขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น    แท้จริงแล้วคนทั่วไปที่มีหลักการวิเคราะห์  และการลำดับความคิดที่ดี

โดยทั่วไปแล้วอาจจะไม่ใส่ใจในการให้เหตุผลตามวิธีการนี้เสมอไป  แต่ทุกคนมีวิธีการคิดสรุปไว้เรียบร้อยแล้ว  เหมือนกับคนเราไม่ได้ใส่ใจว่าทุกขณะ  เรากำลังหายใจอยู่

 

 เอกภพสัมพัทธ์โมดัสโทลเลนส์  (Universal   Modus    Tollens)

กฎที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการอนุมาน  คือ  ความสมเหตุสมผล    ของการอ้างเหตุผลของรูปแบบนี้

มีผลจากการเอาความเป็นจริงของเอกภพสัมพัทธ์  รวมกับเป็นหัวใจของการพิสูจน์ความชัดแจ้ง  ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการที่สำคัญยิ่งในการอ้างเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์

Universal    Modur Tollens

การอ้างเหตุผลในรูปแบบต่อไปนี้ สรุปว่า สมเหตุสมผล (Valid)

รูปแบบที่เป็นทางการ

X, if P(x) then Q(x)                                                                                                                                     ~ Q(c) for a particular c                                                                                                                                 ดังนั้น   ~P(c)

รูปแบบไม่เป็นทางการ

 ถ้า x ทำให้ P(x) เป็นจริง แล้ว x ทำให้Q(x) เป็นจริง

มี c ที่ทำให้ Q(x) ไม่เป็นจริง

ดังนั้น c ทำให้ P(x) ไม่เป็นจริง

ตัวอย่าง    จงเขียนการอ้างเหตุผลต่อไปนี้ใหม่    โดยใช้สัญลักษณ์    ตัวบ่งปริมาณ    ตัวแปร   และภาคแสดง

เขียนข้อตั้งหลักในรูปเงื่อนไข

จงหาว่าการอ้างเหตุผลนี้    สมเหตุสมผลหรือไม่     เพราะเหตุใด

      มนุษย์ทุกคนต้องตาย

     ซีอุส      ไม่ตาย

     ซีอุส   ไม่ใช่มนุษย์

 

วิธีทำ      ข้อตั้งหลักสามารถเขียนใหม่ได้ดังนี้

X, ถ้า x  เป็นมนุษย์ x ต้องตาย

ให้ H(x) แทน “x เป็นมนุษย์

M(x) แทน “x เป็นความตาย

และให้ Zแทน ซีอุส

 

 

 

การอ้างเหตุผลสามารถทำได้ดังนี้

x, if  H(x) then M(x)

~M(z)

ดังนั้น ~H(z)

ดังนั้น เป็นการอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผล โดยใช้ Universal Modus Tollens                                              ตัวอย่าง      จงเขียนอนุมานข้อสรุปโดยใช้    Universal  Modus   Tollens

                 ผู้คงแก่เรียนทุกคนใจลอย

                 ตี๋ใหญ่ไม่ใจเลย

วิธีทำ   จากกฎ   Universal   Modus   Tollens    สามารถอนุมานข้อสรุปได้เป็น

    ตี๋ใหญ่ไม่ใช่คงแก่เรียน                         

 

การพิสูจน์ความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลด้วยประพจน์บ่งชี้ปริมาณ (Proving    Validity   of    Arguments    with   Quantified   Statements  )

นิยามความสมเหตุสมผลสำหรับการอ้างเหตุผลด้วยประพจน์บ่งชี้ปริมาณ   ก็เช่นเดียวกับการอ้างเหตุผลของนิพจน์   การอ้างเหตุผลจะสมเหตุสมผลก็ต่อเมื่อค่าความจริงที่นำมาสรุป    เป็นไปตามเงื่อนไขจำเป็น

   ของค่าความจริงข้อตั้ง  ซึ่งนิยามได้ดังนี้

           การสรุปที่ว่า    รูปแบบการอ้างเหตุผล       สมเหตุสมผล     หมายความว่า

ไม่ว่าภาคแสดง จะถูกแทนค่าด้วยภาคแสดงสัญลักษณ์ในข้อตั้ง   ถ้าผลของข้อตั้งทุกข้อเป็นจริงแล้วสรุปจะเป็นจริง

เหตุอ้างเหตุผล    จะกล่าวว่า    สมเหตุสมผล    ก็ต่อเมื่อแบบที่สรุปสมเหตุสมผล 

       ได้กล่าวมาแล้วว่า    ความสมเหตุสมผลของความเป็นจริงเอกภพสัมพัทธ์  จะขึ้นอยู่กับค่าความจริงของเอกพจน์    สำหรับการพิสูจน์ความสมเหตุสมผลของการอ้างเหตุผลในแคลคูลัส

ภาคแสดง    ไม่ได้กล่าวในหนังสือเล่มนี้    แต่ได้พิสูจน์ให้เห็นเป็นแนวทางในการใช้

ซึ่งการกล่าวอ้างจะสมเหตุสมผล  เมื่อเป็นไปตามหลักการของรูปแบบ  Universal  Modus  Ponens   ดังนี้

x , if  P(x)then Q(x)

P(x) for a particular c

ดังนั้น   Q(c)

 การพิสูจน์ว่าเป็นไปตามที่กล่าวจริงโดยสมมุติให้ข้อตั้งหลักและข้อตั้งรองเป็นจริงทั้งคู่

เราสามารถาสรุปได้ว่า Q(c )  เป็นจริง  เนื่องจากข้อตั้งรอง P( c )  เป็นจริง  สำหรับตัวแทนค่าเฉพาะ c

จากข้อตั้งหลักและความเป็นจริงเอกภพสัมพัทธ์  ทำให้ประพจน์ “ lf  P( c )  then  Q ( c )  มีค่าความจริง

เป็นจริงสำหรับค่า  c  ด้วย   แต่จากกฎ   Modus  Ponens   เนื่องจาก  “ lf  P( c )   then  Q( c)  และ  P (c )

เป็นจริงทั้งคู่   ดังนั้น  Q( c )  จึงเป็นจริงด้วย   อาจจะยังไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในการพิสูจน์ที่กล่าวมา    หลักการสำคัญในการศึกษาตรรกศาสตร์  คือ  หากใช้กฎของตรรกศาสตร์ในการพิสูจน์ 

จะทำให้  การอ้างเหตุผลสมเหตุสมผล

 

 การใช้แผนภาพในการทดสอบความสมเหตุสมผล (Using   Diagrams   to Test   for   Validity)

 การสรุปการอ้างเหตุผลโดยวิธีการอนุมาน  คือ  สรุปจากเหตุไปสู่ผล   บางครั้งดูหน้าเบื่อ   เพราะเห็นได้ไม่ชัดเจน  ยุ่งยาก   จึงมีผู้คิดใช้    แผนภาพ   จึงสรุปผลขึ้น 

ผู้ที่ใช้เป็นคนแรก   คือ   นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน  ชื่อ  Gottfried  Wilhelm  Leibniz  ( LIPE –nits )

(Epp,1990,p.120)      การตรวจสอบความถูกต้องของข้อโต้แย้ง   โดยใช้แผนภาพ  เขียนวงกลมแทนข้อตั้ง

แต่ละข้อ   แล้วนำมาวิเคราะห์ว่าสัมพันธ์กันหรือไม่    ถ้าสัมพันธ์กันก็ถือว่าสมเหตุสมผล  เช่น  จากประพจน์ เลขจำนวนเต็มทุกตัวเป็นจำนวนตรรกยะหรือเขียนอย่างเป็นทางการ  คือ จำนวนเต็ม n, n    คือจำนวนตรรกยะ

 Home  กลับก่อนหน้านี้ 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,453
Today:  10
PageView/Month:  16

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com